วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ความดันอากาศ

ความดันอากาศ

           อากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน  อนุภาคของอากาศ
เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดัน
รอบทิศทาง เรียก แรงดันอากาศ เช่น ถ้าเป่าลูกโป่ง อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกัน
อากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วยเช่นกัน เป็นต้น
 
              แรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง
              ความดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดัน
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันอากาศ
    1.  ขนาดของแรงที่กระทำ (น้ำหนักของวัตถุ)
      

  แรงกดทับน้อย ความดันน้อย           แรงกดทับมาก  ความดันมาก
http://www.thaigoodview.com/node/45981 
                2.  พื้นทีที่ถูกแรงกระทำ (พื้นที่ที่ถูกกดทับด้วยวัตถุ)
   
                          พื้นที่น้อย   ความดันมาก                     พื้นที่มาก  ความดันน้อย

                           อากาศที่ปกคลุมโลกเราเป็นชั้น ๆ เรียนว่าชั้นบรรยากาศ บรรยากาศแต่ละชั้นมีส่วนประกอบและปริมาณของแก๊สแตกต่างกัน เนื่องจากอากาศเป็นสารซึ่งมีมวล จึงถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเช่นเดียวกับที่กระทำต่อวัตถุอื่น ๆ   น้ำหนักของอากาศที่กดลงบนพื้นโลกเนื่องจากแรงดึงดูของโลกในแนวตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เรียกว่า  ความดันอากาศ หรือ ความดันบรรยากาศ
                  ความดันอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และความดันอากาศ ณ บริเวณต่าง ๆ จะไม่  เท่ากันซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ  
กล่าวคือ บริเวณใดที่มีอุณหภูมิสูง อากาศจะขยายตัวทำให้ความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศโดยรอบจึงลอยตัวสูงขึ้นทำให้ความดันอากาศบริเวณนั้นต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงเกิดเป็นบริเวณความกดอากาศต่ำ ซึ่งจะเป็นบริเวณที่อากาศไม่ดี มีเมฆและฝนมาก

ความดันกับระดับความสูง
จากการที่ความดันของอากาศเกิดจากน้ำหนักของอากาศ  ฉะนั้นยิ่งสูงจากพื้นโลกของมวลอากาศยิ่งมีน้อย
นั่นคือ ความดันของอากาศจะลดลงตามระดับความสูง ดังแผนภาพต่อไปนี้


รอบตัวเรามีอากาศ แรงที่โมเลกุลของอากาศกระทำกับพื้นผิวใดๆ จะทำให้เกิดความดันบรรยากาศ เมื่อพิจารณาที่หัวยางของที่ปั้มท่อน้ำ จะได้ว่าความดันของอากาศภายในหัวยางจะเท่ากับความดันของอากาศภายนอก แต่เมื่อนำที่ปั้มท่อน้ำมาประกบกัน แล้วดันไล่อากาศภายในหัวยางออก อากาศภายในหัวยางจะน้อยลง ทำให้ความดันของอากาศภายในหัวยางลดลงด้วย ความดันอากาศภายนอกจึงมีค่ามากกว่า ก็จะดันหัวยางของปั้มท่อน้ำไว้ ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นในการที่จะดึงปั้มท่อน้ำให้แยกออกจากกัน  

http://variety.teenee.com/science/4533.html

      
             เขียนโดย Krit Jarkkrit